คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต
“คุรุ”และภาษาบาลี “ครุ,คุรุ”
ครู คือ บุคคลที่มีหน้าที่
หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน
รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน
โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ
และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ 2529 :
92-94) อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า
คำว่าครูในสมัยโบราณในประเทศอินเดีย
ซึ่งเป็นเจ้าของคำนี้ เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ
แล้วก็นำไปเดินทางวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ
มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ หรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพ จึงมีน้อยมาก
ครูนั้นมักจะไปทำหน้าที่เป็นปุโรหิตของพระราชา หรืออิสระชนซึ่งมีอำนาจวาสนา
มีหน้าที่การงานอันใหญ่หลวง
ในหนังสือ
พจนะ –สารานุกรมไทย
เปลื้อง ณ นคร (2516:
89)ได้ให้ความหมายของคำว่า
“ครู” ไว้ดังนี้
1. ผู้มีความหนักแน่น
2. ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์
3. ผู้สั่งสอน
รังสรรค์
แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2550: 38) ได้ให้ความเห็นว่า“ครู” คือ
ครู
คือ ผู้ที่ให้ความรู้ไม่จำกัดทุกที่ทุกเมื่อ ครูต้องเต็มไปด้วยความรู้ และรู้จัก
ขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ สะสมความดี มีบารมีมาก และครูที่ดีจะต้องไม่ปิดบัง
ความรู้ ควรมีจิตและวิญญาณของความเป็นครู
ครู
คือ ผู้เติมเต็ม การที่ครูจะเป็นผู้เติมเต็มได้ ครูควรจะเป็นผู้แสวงหาความรู้ ต้อง
วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ และมาบูรณาการความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ครู
คือ ผู้ที่มีเมตตา จะต้องสอนเต็มที่โดยไม่มีการขี้เกียจหรือปิดบังไม่ให้ความรู้
เต็มที่ ครูต้องไม่ลำเอียง ไม่เบียดเบียนศิษย์
ที่มา
https://teachermaykricy047.wordpress.com
https://sites.google.com
https://th.wikipedia.org
ความสำคัญของครู
"
ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด
แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต
ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม
ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม
ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน
ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย"
ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด
แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกันกล่าวคือ
นอกจากครูจะต้องรักบทบาทเป็นผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ
แล้ว ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก
เช่นการพัฒนาสังคมการเมือง เศรษฐกิจศาสนาและวัฒนธรรมเป็นต้น ดังนั้น
ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน
และเป็นบทบาทในการสร้างสังคมในด้านต่างๆให้มีความเจริญก้าวหน้าจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ให้สมญานามแก่ครูว่าเป็นวิศวกรสังคม
ซึ่งหมายถึงช่างผู้ชำนาญในการสร้างสังคมนั่นคือ
หากครูให้การศึกษาแก่สมาชิกแก่สังคมอย่างไร สังคมก็จะเป็นอย่างนั้น
เช่นให้การศึกษาเรื่องระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง สังคมก็จะเป็นประชาธิปไตย
หากครูให้การศึกษาในระบอบอื่นสังคมก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย
สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู
ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก
ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ คือ
1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น
ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน
ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น
ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย
และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด
ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น
ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์
ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่ ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม
ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา
และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ
หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ
เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น
เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น
เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน
เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม
เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย
เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน
4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น
เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก
5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
หมายความว่า
ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี
ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น
ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย
ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย
ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน
ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง
และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง
6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน
คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น
ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ
สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม
แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด
แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์
ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์
และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์
7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
หมายความว่า
ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น
สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน
สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง
สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
8. ครู คือ
ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
หมายความว่า
ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์ ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน
ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ
ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน
ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ
และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม
9. ครู คือ ปูชนียบุคคล
หมายความว่า
ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น
ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต
ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ
และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
10. ครู คือ วิศวกรสังคม
หมายความว่า
ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ
เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม
เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย ครูทำงานพัฒนา
ครูทำงานออกแบบ ครูทำงานผลิต ครูทำงานก่อนสร้าง ครูทำงานควบคุมโรงเรียน
ครูทำงานทดสอบ ครูทำงานการขายและการตลาด ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา
และครูทำงานการศึกษาโดยตรง
ความสำคัญของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม
การที่ครูได้รับการยกย่องให้เป็นวิศวกรสังคมก็เพราะครูมีบทบาททางสังคมเช่นเดียวกับงานวิศวกรในฐานะนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้กระทำ
กล่าวคือ ครูเป็นนักสร้าง ออกแบบ แก้ไข ปรับปรุง และเป็นนักพัฒนาคน
ด้วยเหตุนี้สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรสังคม
งานของครูในฐานะที่เป็นวิศวกรสังคมที่สำคัญจึงมีดังนี้
1. ครูทำงานวิจัย
ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงขั้นสลับซับซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน
เช่นแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน นักเรียนขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
วิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
2. ครูทำงานพัฒนา
ครูนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยาไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน
เพื่อหาความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งคือ “การพัฒนาคน”
3. ครูทำงานออกแบบ
ออกแบบด้านกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานความสามารถของนักเรียน
และให้สอดคล้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบการสอนระดับต่างๆ
4. ครูทำงานการผลิต
ครูให้ความรู้ความสามารถแก่นักเรียนนักศึกษาก่อนที่เขาเหล่านั้นจะออกไปรับใช้สังคม
ครูจะต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ผลิตผลของครูเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ
5. ครูทำงานก่อสร้าง
สร้างพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามรูปแบบที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ
ซึ่งเป็นงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการก่อสร้างตึกสร้างอาคารบ้านช่องเท่าใดนัก
6. ครูทำงานควบคุมโรงเรียน
หากครูสามารถควบคุมดูแลโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยตกแต่งอาคารบริเวณสวยงาม
มีบรรยากาศน่าอยู่น่าเรียน นักเรียนในโรงเรียนอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี
สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมดี
การจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลไปถึงผลผลิตของโรงเรียนคือ
นักเรียนจะต้องมีคุณภาพด้วยอย่างแน่นอน
7. ครูทำงานทดสอบ
ครูจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบการทดสอบและดำเนินการทดสอบเองตามความเหมาะสม
8. ครูทำงานการขายและการตลาด
ครูต้องเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน
โรงเรียนเปรียบเสมือนบริษัทหรือโรงงานผลิตสินค้า นักเรียนคือสินค้า ส่วนชุมชนหรือสังคมเปรียบเสมือนผู้ซื้อหรือลูกค้า
ถ้าผู้เรียนมีคุณภาพดีแสดงว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากครูก็มีคุณภาพ
9. ครูทำงานบริหาร
ผู้เป็นครูทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆ
10. ครูทำงานที่ปรึกษา
งานของครูทุกระดับชั้นต้องเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแก่ศิษย์
และบางครั้งต้องให้คำปรึกษาแก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงสถานศึกษาด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำปรึกษาแก่ศิษย์นั้นสำคัญยิ่ง
12. ครูทำงานการศึกษาโดยตรง
งานการศึกษาเป็นงานของครูโดยตรงครูต้องรับผิดชอบกับการศึกษาทุกระดับชั้น
ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา
รับผิดชอบในการสร้างคุณภาพของคนเพื่อให้คนไปสร้างสังคมต่อไป
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเยาวชน
งานสำคัญของครูในการพัฒนาเยาวชนได้แก่
การให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นฐานในการศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพ, ให้ความรู้สึกพยายามให้เยาวชนมีความสำนึกว่าอะไรดี
อะไรไม่ดี อะไรควร และอะไรไม่ควร, ให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
รู้จักคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
บทบาทของครูต่อการพัฒนาเยาวชนถือว่าเป็นงานที่สำคัญมาก
ครูจะทำหน้าที่ในฐานะเป็นวิทยากรสังคมได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเยาวชน
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาสังคม
1.ให้การศึกษาและความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
2.เป็นผู้นำหรือริเริ่ม
ปรับปรุงความเป็นอยู่ของสังคมและวัฒนธรรม
3.เป็นผู้ปรับปรุงส่งเสริม
4.เป็นที่ปรึกษาแก่ชุมชน
5.เป็นผู้สร้างความตื่นตัว
6.เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงาน
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง
1.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับระบบการปกครองประเทศ
2.ฝึกหัดให้เยาวชนในสถานศึกษานำรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมบางอย่างในสถานศึกษา
3.ครูเป็นตัวแทนของรัฐในการเชิญชวนให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง
4.สร้างค่านิยมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน
5.แนะนำประชาชนในท้องถิ่นมิให้เห็นแก่อามิสสินจ้างรางวัล
การซื้อสิทธิขายเสียง
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
1.สอนนักเรียนที่ตัวครูเองรับผิดชอบอยู่ให้เต็มเวลา
เมหลักสูตร เต็มความสามารถ
2.ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนอย่างจริงจัง
4.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของครูและนักเรียน
5.ให้คำปรึกษาแนะนำกระตุ้นเร่งเร้าหรือเร่งงานอาชีพใหม่ๆ
6.ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจัดฝึกอาชีพใหม่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
7.ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน
8.ส่งเสริมการผลิตและแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ
ความสำคัญของครูต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม
1.มีความเลื่อมใสศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ
2.ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในหลักธรรมคำสอนที่ตนนับถือ
3.นำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติ
4.ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ
5.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน
6.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ
7.เลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนอย่างเหมาะสม
8.ศึกษาหาวิธีที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น
9.ปรับปรุงเนื้อหาสาระในวิชาการต่างๆ
10.สอดแทรกวัฒนธรรมบางสิ่งบางอย่าง
โดยเฉพาะด้านคติธรรม
11.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์อยู่เสมอ
12.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาความคิดและเจตคติที่ดีต่อวัฒนธรรม
13.ครูอาจารย์ทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ
14.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ
และนำผลการวิจัยเผยแพร่แก่ชุมชนให้มีความรู้
15.จัดห้องวัฒนธรรมในสถานศึกษาให้ทั่วถึง
เพื่อเป็นที่รวบรวมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
ในอดีตครูมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมาก
แต่ในปัจจุบันความสำคัญของครูเปลี่ยนไป
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตกับครูในปัจจุบันแตกต่างกัน เช่น
1. จำนวนครู
ในอดีต จำนวนครูมีน้อย
คนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มี สติปัญญาดี
และมีนิสัยเหมาะสมที่จะเป็นครู สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
แก่ลูกศิษย์ได้ ดังนั้น ความสำคัญของครูจึงมีมาก
ในปัจจุบัน การศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม จำนวนครูให้มากขึ้น
และมีคนเป็นจำนวนมากที่มิได้ศรัทธาที่จะเป็นครู แต่จำเป็นต้อง
ประกอบอาชีพนี้เพียงเพื่อให้มีโอกาสได้งานทำ จึงทำให้ครูบางคนมีพฤติกรรมที่ ไม่
เหมาะสมกับการเป็นครูไม่มีศรัทธาในวิชาชีพที่ทำอยู่
2. หลักสูตรการสอน
ในอดีต “ตัวครู” คือ“หลักสูตร” ครูมีความสามารถในเรื่องใด
หรือมีวิธีการ สอนอย่างใดก็สอนกันไปเช่นนั้น
ครูมีความสำคัญมากในการที่จะดูแลปรับปรุงพฤติกรรม ของเด็ก
ในปัจจุบัน
หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่าง ๆ มีมาก และแต่ละ สาขาวิชาก็จะมีครูเฉพาะสาขาวิชาทำการสอนในวิชานั้น
ๆ อยู่ นักเรียนจะมีโอกาสได้ เรียนกับครูหลาย ๆ คน
ทำให้ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนลดน้อยลง นักเรียนจะ
ไม่ค่อยเห็นคุณค่าความสำคัญของครูเท่าใดนัก 3. จำนวนนักเรียน
ในอดีต
จำนวนประชากรมีน้อยกว่าปัจจุบันมาก ผู้ที่สนใจจะเรียนหนังสือก็ มีจำนวนไม่มาก
ครูผู้สอนแต่ละคนสามารถดูแลอบรมนักเรียนได้อย่างทั่วถึง มีความ
ผูกพันซึ่งกันและกัน
ในปัจจุบัน จำนวนนักเรียนในแต่ละระดับ
แต่ละห้องมีมากขึ้น ครูบางคน ต้องสอนนักเรียนหลายห้อง
เมื่อสอนหมดชั่วโมงหนึ่งก็ต้องรีบไปสอนต่ออีกห้องต่อไป ทำ ให้ความผูกพันใกล้ชิดกันระหว่างครูกับลูกศิษย์ลดน้อยลงตามลำดับ
4. อนาคตของศิษย์
ในอดีต
คนที่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนเกือบทุกคนจะได้ดีมีงานทำ
ในปัจจุบัน คนที่เรียนหนังสือมีมากขึ้น
เมื่อเรียนสำเร็จแล้วต้องแย่งกันหา งานทำ แต่งานมีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้น
คนที่เรียนสำเร็จแล้วไม่มีงานทำจะมีมากและ
เป็นพวกที่ไม่เห็นความสำคัญของครูเท่าไรนัก
5. ความรู้สึกของศิษย์และผู้ปกครอง
ในอดีต ลูกศิษย์เรียนจบมีงานทำดีๆ
ทั้งลูกศิษย์และผู้ปกครองมักจะ นึกถึงบุญคุณครูที่เคี่ยวเข็ญและสั่งสอนมา
ในปัจจุบัน
ลูกศิษย์มักจะไม่นึกถึงบุญคุณครูเท่าไรนัก เพราะครูไม่ได้
ใกล้ชิดสั่งสอนอบรมลูกศิษย์เช่นครูในอดีต
จากเหตุผลดังกล่าว
ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้ง ๆ
ที่ในความเป็นจริงความสำคัญของครูมิได้ลดน้อยลงไปเลย ครูยังคงมีบทบาทและ
ความสำคัญอยู่เสมอ เพียงแต่คนบางกลุ่มมิได้เห็นว่าครูมีความสำคัญต่อตนเช่นเดียวกับ
ลูก ศิษย์ในสมัยก่อน
แต่ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต
ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือ
ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม
ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน
ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย
ที่มา
https://www.gotoknow.org
https://sites.google.com
https://educ105.wordpress.com
หน้าที่ของครู
หน้าที่ความรับผิดชอบของครู หมายถึง
กิจที่ครูต้องกระทำให้ได้ผลดีโดยสม่ำเสมอ
การกระทำของครูเพื่อให้ผลดีได้นั้นต้องอาศัยพื้นฐานของกฎระเบียน แบบธรรมเนียม
จริยธรรม จรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์
ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน
นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน
และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์
เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา
ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย
3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์
โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร
และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์
เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว
การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
5. อบรมคุณธรรม
จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์
เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
7. ตรงต่อเวลา
โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย
8. ปฏิบัติงาน
ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน
โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ
สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู
คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนานอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จ
มีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ ท่องบ่น ตอนก่อนเพล
เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่น
พระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ 2
โมงพระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใด
คนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อเติมขึ้นไป บางแห่งมีการตรวจสอบในตอนเช้า
ตอนบ่ายจึงเรียนเขียนอ่านต่อ ถ้าใครเกียจคร้านก็จะถูกตีด้วยไม้ บ่าย 4 โมงครึ่ง หรือ 5 โมง จึงเลิกเรียน วันหยุดเรียนได้แก่วันพระ
และวันที่มีพิธีต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 ).
ลักษณะของหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
หน้าที่ความรับผิดชอบของครูมี 2 ลักษณะดังนี้
1.หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนด
หน้าที่ความรับผอดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติอาจพิจารณาได้จากระเบียนปฏิบัติทางราชการต่างๆ
ที่กำหนดขึ้นและได้ประกาศใช้โดยหน่วยงานของราชการของรัฐ เช่น
ระเบียนคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 ประกาศจรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
หรือระเบียนคุรุสภาว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยต่างๆ
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ
ที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องสัมพันธ์ด้วยนั้น อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์
ต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ เพื่อนครูและสถานศึกษา
และหน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก้ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
หน้าที่ความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนดมีดังนี้
1.1หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญเป็นอันดับแรก
อาจสรุปหน้าที่ของครูต่อศิษย์ได้ดังนี้
1.1.1
ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่
1.1.2อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์
จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้
1.1.3ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง
ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อศิษย์
1.1.4สุภาพเรียบร้อย
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
1.1.5รักษาความลับของศิษย์
1.1.6ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลัใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
1.1.7ครูต้องอบรม
สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
1.1.8ครูต้องประพฤติ
ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางการ วาจาและจิตใจ
1.1.9ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
1.1.10ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
1.2
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่
ตนเองเพื่อนครูและสถานศึกษา
ในการประกอบวิชาชีพครู
โดยทั่วไปจะเป็นการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้น
ฉะนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจะต้องมีต่อตนเอง
และเพื่อนร่วมงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา
ซึ่งอาจจะแยกแยะได้ดังนี้
1.2.1ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูด้วยกันในทางสร้างสรรค์
เช่น การแนะนำแหล่งวิทยาการให้กัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาชีพซึ่งกันและกัน
1.2.2รักษาความสามัคคีระหว่างครู
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน
ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกคิดทำลายกลั่นแกล้งซึ่งกันและกัน
เต็มใจช่วยเหลือเมื่อเพื่อนครูขอความช่วยเหลือ เช่น เป็นวิทยากรให้แก่กัน
ช่วยงานเวรหรืองานพิเศษซึ่งกันและกัน
1.2.3ไม่แอบอ้างหรือนำผลงานทางวิชาการของเพื่อนครูมาเป็นของตนทั้งยังต้องช่วยเหลือให้เพื่อนครูอื่นๆ
ได้สร้างสรรค์งานวิชาการอย่างเต็มความสามารถด้วย
1.2.4ประพฤติตนด้วยความสุภาพ
อ่อนน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะสังกัดหน่วยงานใด
1.2.5ปฏิบัติตามระเบียบ
และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา
ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
1.2.6รักษาชื่อเสียงของตนไม่ให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว
ไม่กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์และชื่อเสียงของครู
1.2.7ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต
และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม
ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
1.2.8ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ
บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
1.2.9ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
1.3
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
หน้าที่ความรับผิดชอบของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์เป็นเป้าหมายสำคัญ
แต่การสร้างเสริมศิษย์นั้นยังมีปัจจัยที่เกี่ยวอย่างอื่นด้วยคือผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
ครูจึงต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อสถาบันทั้งสองนั้นด้วยซึ่งอาจแยกแยะ ได้ดังนี้
1.3.1ครูต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
1.3.2ครูต้องยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือและไม่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
1.3.3ครูต้องให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างใกล้ชิดตลอดจนการร่วมแก้ปัญหาของศิษย์ทุกๆด้าน
ทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุภาพพลานามัย ปัญหาทางจิตใจ ฯลฯ
1.3.4ครูต้องให้คำปรึกษาหารือและแนะนำผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในปกครองอย่างใกล้ชิด
ตลอดจนแนะแนวการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพของศิษย์
1.3.5ครูต้องรายงานข้อมูลต่างๆ
ของศิษย์ให้ผู้ปกครองทราบสม่ำเสมอและถูกต้องไม่บิดเบือน
1.3.6ครูพึงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ปกครองและชุมชนในทางสร้างสรรค์ตามความเหมาะสม
1.3.7ครูพึงประพฤติเป็นผู้นำในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
1.3.8ครูพึงร่วมพัฒนาชุมชนทุกๆด้าน
ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิตแก่สมาชิกทุกคนในชุมชน
2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียม
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนี้
เป็นหน้าที่ที่สังคมคาดหวังให้ครูปฏิบัติ เป็นสำนึกที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย
ดังจะศึกษาได้จาก ความเป็นครูสถิตในหทัยราช ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าของ
เรืองวิทย์ ลิมปนาท (2538 : 23-38) ในบทที่ว่าด้วย แนวพระราชดำริด้านการศึกษาและความเป็นครู
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลนเดช
จะเห็นได้ว่าพระบรมราโชวาทในวาระและในโอกาสต่างๆนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงบทบาทหน้าที่ของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมสอดแทรกไว้ด้วยเสมอๆ
นอกจากพิจารณาจากพระบรมราโชวาทต่างๆแล้ว
อาจพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมได้จากคำสอนในหมวดธรรมเรื่อง
การอนุเคราะห์ศิษย์ 5 ประการ
ซึ่งวงการครูไทยยึดเป็นแบบปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานดังนี้
2.1 แนะนำสั่งสอนดี
ครูย่อมมีหน้าที่ในการแบะนะสั่งสอนวิทยาการต่างๆ โดยต้องรับผิดชอบด้วยการสั่งสอนดี
ได้แก่ สอนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ สอนได้ชัดเจนหรือให้เป็นรูปธรรม
สอนให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเล่าเรียนโดยมีกำลังใจและมั่นใจที่จะเรียนและสอนให้สนุกให้ศิษย์เรียนได้อย่างไม่เบื่อหน่ายหรือสรุปสั้นๆว่า
ชี่ให้ชัด ชวนปฏิบัติลงมือกระตือรือร้น แจ่มใสสนุก
2.2 ให้การศึกษาเล่าเรียนดี
ครูต้องเป็นผู้จัดสถานการณ์ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนได้ดี ได้แก่
การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้ศิษย์
ตลอกจนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ศิษย์ศึกษาเล่าเรียนได้ดี
2.3
บอกศิลปะให้สิ้นเชิงไม่ปิดบังอำพราง ครูต้องรับผิดชอบในศิลปะวิทยาการที่ตนสอน
ต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง มีความบริสุทธิ์ใจในการอบรมสั่งสอนไม่บิดเบือนวิชาการ
2.4
ยกย่องให้ปรากฎในหมู่เพื่อน
ครูต้องช่วยเร้าหรือเสริมกำลังใจให้แก่ศิษย์ในการศึกษาเล่าเรียน ศิษย์แต่ละคนย่อมมีความสามารถและความถนัดในบางด้าน
ครูต้องช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษนั้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
ครูต้องไม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของศิษย์
2.5
ป้องกันภัยในทิศทั้งหลาย
ครูมีหน้าที่ป้องกันศิษย์โดยการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักคุณและโทษทางสิ่งต่างๆในชีวิต
ป้องกันศิษย์ไม่ให้ตกไปในทางอุบายทุกอย่าง
ซึ่งอาจทำได้ทั้งการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม
คอยดูและให้ห่างไกลจากภัยทั้งหลาย
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู
อาจวิเคราะห์หน้าที่ของครูจากระเบียนปฏิบัติราชการ
การศึกษาสัมมนา และการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามลักษณะงานครู
หน้าที่ความรับผิดชอบของครุจากงานวิจัยต่างๆ ดังเช่น เฉลียว บุรีภักดีและคณะ(2520 :
235-240)วิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีและสรุปได้ว่า
ครูที่ดีจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
1. หมั่นอบรมเด็กอยู่เสมอ
2. ตั้งใจสอน
รักการสอน
3. จัดการปกครองให้เป็นที่เรียบร้อย
4. เตรียมการสอน
และทำการบันทึกการสอน
5. หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน
6. รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
7. ช่วยให้คะแนะนำแก่เด็กด้วยความเต็มใจ
8. สอนให้เด็กเป็นประชาธิปไตย
9. ทำบัญชีรายชื่อ
และสมุดประจำชั้น
10. ดูแลบำรุงรักษาห้องเรียนและอาคารสถานที่
11. เกี่ยวกับการสอน
การอบรม การวัดผล
12. เกี่ยวกับธรรุการและระเบียนวินัย
13. ค้นคว้าเพิ่มเติมและหาความรู้ใหม่ๆมาสอน
14. สอนให้เด็กเป็นคนดี
15. หมั่นหาความรู้และวิธีการหาความรู้
16. เป็นตัวอย่างแก่เด็ก
17. จัดการแนะแนวที่ดีแก่เด็ก
18. ช่วยงานสารบรรณและธุรการโรงเรียน
19. เอาใจใส่เด็ก
20. บริการโรงเรียน
21. เป็นครูประจำชั้น
22. ทำระเบียนและสมุดรายงานนักเรียน
23. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
24. ร่วมกิจกรรมชุมชน
25. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
26. เอวใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาและความต้องการของเด็ก
27. ช่วยประชาสัมพันธ์กิจการของโรงเรียนได้ดี
ที่มา
https://sites.google.com
https://www.gotoknow.org
http://www.kroobannok.com
คุณธรรมจริยธรรมของครู
คุณธรรมของครู
เป็นคุณลักษณะหรือองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดในความเป็นครูของผู้ประกอบวิชาชีพครู
เพราะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลให้ครูปฏิบัติหน้าที่ครูได้อย่างสมบูรณ์
ทำให้เป็นที่เคารพนบนอบของสังคม
ส่วนจรรยาบรรณครูนั้นเป็นกฎกติกาที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครูประพฤติปฏิบัติตนเพื่อให้สังคมยอมรับ
และยังเป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพใช้วิชาชีพเพื่อเอื้อเฟื้อประโยชน์ต่อสังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
ทั้งคุณธรรมและจรรยาบรรณเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของครู
อันเป็นสิ่งที่ทำให้ครูปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อหน้าที่ได้สมบูรณ์
มีความรับผิดชอบต่อศิษย์ ต่อตนเอง ต่อวิชาชี และต่อสังคม
คุณธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู
เนื่องจาก
ครูจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำสังคม
ดังนั้นคุณธรรมจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการที่ครูจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
อันจะเป็นแม่แบบในการดำเนินชีวิตให้แก่สมาชิกในสังคมคมได้
หลักคุณธรรมที่สำคัญที่ผู้ประกอบอาชีพครูจะยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง
คุณธรรมของครูตามข้อเสนอของคุรุสภา
คุรุสภาได้จัดประชุมสัมมนาวิชาชีพครู
ครั้งที่6 เมื่อวันที่27-28 เมษายน พ.ศ.2532ได้ผลสรุปว่าบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพครูควรมีลักษณะพื้นฐาน
4 ประการคือ รอบรู้ สอนดี มีคุณธรรมจรรยาบรรณ
และมุ่งมั่นพัฒนา(สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2534 : 6-9)
ในเฉพาะส่วนที่เป็นข้อคุณธรรมจรรยาบรรณนั้นมีข้อคุณธรรมที่คุรุสภาได้เสนอไว้
9 ข้อ โดยแต่ละข้อได้ระบุพฤติกรรมของครู
ทังพฤติกรรมหลักและพฤติกรรมบ่งชี้ แสดงการมีคุณธรรมดังกล่าวด้วย
สาระสำคัญมีดังต่อไปนี้
1.มีความเมตตากรุณาพฤติกรรมหลักคือ
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม
มีความสนใจและห่วงใยเรื่องการเรียน และความประพฤติของนักเรียน
ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ ไม่นิ่งดูดายและเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ
ให้ความรักความเอาใจใส่ช่วยเหลือดูแลเด็กให้ได้รับความสุขและพ้นทุกข์
เป็นกันเองกับนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกเปิดเผยไว้วางใจและเป็นที่พึ่งของนักเรียนได้
2.มีความยุติธรรมพฤติกรรมหลักคือ
มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน และมีความเป็นกลาง ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ
เอาใจใส่ต่อนักเรียนทุกคนอย่างเสมอภาคและไม่ลำเอียง
ตัดสินปัญหาของนักเรียนด้วยความเป็นธรรม ยินดีช่วยเหลือนักเรียน
ผู้ร่วมงานและบริหารโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3.มีความรับผิดชอบพฤติกรรมหลักคือ
มุ่งมั่นในผลงาน ใช้เวลาอย่างมีคุณค่าและปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน
ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ มีวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
วางแผนการใช้เวลาให้เหมาะสมและปฏิบัติ
งานได้ทันเวลาใช้เวลาคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
มีความรอบคอบระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ทุกด้าน
ปฏิบัติภารกิจทุกด้านได้ครบตามความสามารถ
และประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
4.มีวินัย
พฤติกรรมหลักคือ มีวินัยในตนเอง และปฏิบัติตามกฎระเบียบ ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ
ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามทำนองครองธรรม มีวิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานสถานศึกษา ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นขั้นตอน
5.มีความขยัน
พฤติกรรมหลักคือ มีความตั้งใจและมีความพยายาม ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ
กระตือรือร้นและปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถอย่างสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำงาน
และมีความพยายามที่จะสอนเด็กให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
6.มีความอดทน
พฤติกรรมหลักคือ อดทนเมื่อเกิดอุปสรรค มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์
ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ ปฏิบัติงานเต็มที่ไม่ทิ้งขว้างกลางคัน ไม่โกรธง่าย
และสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม และอดทนอดกลั้นต่อคำวิจารณ์
7.มีความประหยัดพฤติกรรมหลักคือ
รู้จักประหยัดและออม และใช้ของให้คุ้มค่า ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ
ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดเกินฐานะของตน รู้จักเก็บออมทรัพย์
เพื่อความมั่นคงของฐานะ และรู้จักเก็บรักษาของอย่างถูกวิธี
8.มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู
พฤติกรรมหลักคือ เห็นความสำคัญของอาชีพครู และรักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู
ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร วิชาชีพครู
เข้าร่วมกิจกรรมวิชาชีพครู ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู
ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีและเกิดผลประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
รักษาความสามัคคี
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงานปกป้องและสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพครู
9.มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต
พฤติกรรมหลักคือ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้คือ
เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของข้อโต้แย้งของผู้อื่น
ยอมรับและปฏิบัติตามความคิดที่มีเหตุผล
โดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักและใช้หลักการและเหตุผลในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
หลักคุณธรรมจรรยาบรรณของคุรุสภาทั้ง
9
ประการนี้คุรุสภาพยายามทำให้เป็นรูปธรรมเชิงพฤติกรรมและเผยแพร่ให้สมาชิกคุรุสภาทราบ
ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของคุณธรรมตามหลักศาสนาต่างๆดังกล่าวนั่นเอง
คุณธรรมที่พึงประสงค์ของครูไทย
คุณธรรมที่พึงประสงค์ของครูไทยนั้น
อาจยึดหลักปฏิบัติธรรมที่สำคัญของศาสนาที่ตนนับถือก็ได้
อย่างไรก็ดีสำหรับคุณธรรมของครูไทยในแนวทางพุทธศาสนานั้น
ครูแต่ละคนควรศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนเรื่องทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ซึ่งแปลว่าทางสายกลางแห่งข้อปฏิบัติฝึกฝนใจในทางที่ชอบ คำว่าทางสายกลางนั้น หมายถึงการดำเนินทางใจหรือข้อปฏิบัติบำเพ็ญทางใจที่ทำให้พ้นจากกิเลศอันเป็นข้าศึกทางสายกลางดังกล่าวก็คือ
อริยมรรค อันมีองค์ 8นั่นเอง
คุณธรรมข้อนี้ถือว่า เป็นธรรมขั้นสูงในศาสนาพุทธอันได้แก่
1.สัมมาทิฏฐิ
การเห็นชอบ หมายถึง การเห็นด้วยใจด้วยปัญญา เห็นถูกเห็นผิดตลอดจนการเห็นในฝ่ายดีทั้งหลายที่เรียกว่า
การเห็นชอบตามทำนองครองธรรม พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ 2539 : 30) กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งทางพ้นทุกข์
หรืออาจพูดว่า การเห็นชอบเป็นแสงสว่างส่องทางให้พ้นทุกข์
ครูทั้งหลายหากมีสัมมาทิฏฐิและถือปฏิบัติเป็นอย่างดีย่อมเป็นครูที่มีความเป็นครู
กล่าวคือผู้นั้นจะเป็นครูที่เข้าใจอาชีพครูอย่างถูกต้อง
เห็นอุดมการณ์ของความเป็นครู
ทำให้เลือกปฏิบัติอย่างถูกต้องว่าเป็นคนรับจ้างสอนหนังสือหรือเป็นครูจริยบุคคลนั่นเอง
2.สัมมาสังกัปปะ
การดำริชอบ หมายถึงการคิดอย่างฉลาด รอบคอบรู้จักไตร่ตรองเป็นผู้มัวิธีคิด
รู้จักใช้ความคิดในทางที่ถูกต้องดีงาม
คิดในททางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อศิษย์ และต่อสังคม
ครูผู้มีความคิดไม่เบียดเบียน ไม่มุ่งร้าย ไม่อาฆาตแค้น
ย่อมเป็นครูที่มีความสมบูรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ครู
3.สัมมาวาจา
การพูดจาชอบ หมายถึงการไม่พูดจาส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ
และไม่พูดปดพูดเท็จ
ครูต้องใช้คำพูดกับลูกศิษย์อยู่ตลอดเวลาทั้งในห้องเรียนและนอกเวลาเรียน
การพูดและวิธีพูดของครูมีผลต่อความรู้ ความรู้สึก และจิตใจของศิษย์อยู่เสมอ
ครูพูดด้วยความจริงใจ อ่อนโยน ไพเราะ ย่อมทำให้ศิษย์มีความเคารพและรักนับถือ
4.สัมมากัมมันตะ
การทำการงานชอบ
หมายถึงการกระทำกิจการงานต่างๆด้วยความเต็มใจและตั้งใจอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เกิดผลดีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย
การกระทำการใดๆด้วยความมุ่งมั่น อดทน ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ และรอบคอบ
ครูผู้มีคุณธรรมข้อนี้ย่อมเป็นครูผู้กล่าวเผชิญกับกิจการงานทั้งปวง
5.สัมมาอาชีวะ
การเลี้ยงชีวิตชอบ หมายถึงทำอาชีพสุจริตและไม่ผิดกฎหมายทั้งหลาย
ธรรมข้อนี้สำหรับครูนั้นหมายรวมถึงความพยายามเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวโดยวิธีการที่ถูกต้องชอบธรรม
ไม่เบียดเบียนเวลาในการสอนหรือเวลาตามหน้าที่ครู ตลอดจนการใช้เวลาว่างเพื่อเลี้ยงดูตนเองโดยแบ่งเวลาเป็นเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อใช้สอนศิษย์
การใช้เวลาว่างเพื่อพักผ่อนและสุขภาพ
6.สัมมาวายะมะ
การเพียรชอบ หมายถึงการมุ่งมั่นพยายามในทางฝ่ายดีทั้งหลาย ครูควรมีความเพียร
คือครูผู้พยายามศึกษาความรู้อยู่เสมอ มีมานะพยายามสร้างความก้าวหน้าในชีวิตและหน้าที่การงานตามทำนองครองธรรม
มีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติหน้าที่การงาน
7.สัมมาสติ
การระลึกชอบ หมายถึงการพิจารณาไตร่ตรองสภาพสิ่งแวดล้อมในทางที่ถูก
การไตร่ตรองว่าสิ่งนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร เพื่ออะไร และโดยวิธีใด ย่อมทำให้จิตใจผู้ไตร่ตรองสงบและเป็นสุข
ทั้งสติปัญญาก็จะเฉียบแหลมรอบคอบในการผจญปัญหาใดๆ
ครูผู้ระลึกชอบย่อมเป็นครูผู้มีสติ
ไม่เสียสติและอยู่ในทำนองครองธรรมไม่ออกนอกลู่นอกทาง
8.สัมมาสมาธิ
ความตั้งใจมั่นชอบ หมายถึงการตั้งอยู่ในความสงบไม่วอกแวกโลเลไม่ปล่อยให้กิเลสทั้งหลายมาหลอกล่อให้หลงผิด
ครูผู้มีความตั้งใจมั่นชอบย่อมเป็นครูผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินอาชีพครู
เพราะจะเป็นครูที่ไม่มีจิตใจฝักใฝ่ในทางอื่นที่มิใช่ทางแห่งวิชาชีพของตนไม่พยายามหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่นๆ
ไม่คิด ไม่เห็น ไม่นอกลู่นอกทางของความเป็นครู
อริยมรรคนี้จำแนกได้เป็น3 กลุ่มคือ
สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะเป็นเรื่องของปัญญาหรือความสว่าง กล่าวคือ
ผู้มีความสว่างหรือมีปัญญานั้น ย่อมเห็น ย่อมรู้ และย่อมคิดในทางที่ถูก ในทางที่ดี
ในทางกลับกันผู้คิดดี ผู้เห็นดีตามทำนองครองธรรมย่อมเป็นผู้มีปัญญา
ส่วนสัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นกลุ่มธรรมเกี่ยวกับการรักษาศีลหรือความสะอาด
ผู้มีศีลธรรมเหล่านี้ย่อมห่างจากความสับสน วุ่นวาย ทะเลาะเบาะแว้งแข่งขัน
ชิงดีชิงเด่นทั้งหลาย
ส่วนสัมมาวายามะ
สัมมาสติและสัมมาสมาธิ เป็นธรรมที่เกี่ยวกับสมาธิหรือความสงบ ไม่วอกแวกโลเล หรือลู่ไหลไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย
คุณธรรม
จริยธรรมของครู
1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร
2.ครูต้องมีวินัยตนเอง
3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง
4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน
6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์
7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที
9.ครูต้องไม่ประมาท
10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี
11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ
12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา
13.ครูต้องมีความอดทน
อดกลั้น
14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์
15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา
16.ครูต้องมีการให้อภัย
17.ครูต้องประหยัดและอดออม
18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ
20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ที่มา
http://prathana0011.blogspot.com
https://sites.google.com
https://educ105.wordpress.com
เนื้อหาแล้วได้ใจความมากค่ะ ตกแต่งได้สวยงาม เนื้อหาครบถ้วนมากๆค่ะ
ตอบลบพื้นหลังสีสันสวยงาม ตัวอักษรไม่เล็กเกินไป มีการไล่สีสวยค่ะ
ตอบลบเนื้อหาครบถ้วน มีการแบ่งเป็นข้อๆ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
พื้นหลังสีสันสวยงาม ตัวอักษรไม่เล็กเกินไป มีการไล่สีสวยค่ะ
ตอบลบเนื้อหาครบถ้วน มีการแบ่งเป็นข้อๆ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น